Skip to main content
sharethis

เครือข่ายนักวิชาการในภาวะเสี่ยง (SAR) ในฐานะเครือข่ายของนักวิชาการและสถาบันการศึกษาทั่วโลกเพื่อปกป้องนักวิชาการและนักศึกษาที่ถูกคุกคามโดยรัฐ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวและหยุดดำเนินคดีนักศึกษา

 

8 เม.ย.2564 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า เครือข่ายนักวิชาการในภาวะเสี่ยง (SAR) เพิ่งส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา แสดงความห่วงใหญ่ต่อการกักขังและดำเนินคดีนักศึกษาสามคน ดังกล่าว “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ ที่เป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และไมค์ ภาณุพงศ์ จาดนอก ที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง  นักศึกษาทั้ง 3 คนถูกจับกุมและถูกตั้งข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ตามมาตรา 112 และข้อกล่าวหาอีกหลายมาตรา เพียงเพราะร่วมการชุมนุมและแสดงออกความคิดทางการเมืองอย่างสันติตั้งแต่กลางปี 2563 SAR จึงเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวและหยุดดำเนินคดีนักศึกษาโดยทันที

SAR แสดงความห่วงเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาทั้ง 3 คนโดนปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวซ้ำแล้วซ้ำอีก และแสดงการกังวลเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยของนักศึกษาสองคนที่ประท้วงการโดนปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวโดยอดอาหาร ที่เป็น พริษฐ์ ชิวารักษ์ และ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

SAR ระบุและเตือนรัฐบาลไทยว่าการจับกุม การกักขัง และการดำเนินคดี เพียงเพราะแสดงความคิดเห็นอย่างสันติเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ที่เป็นสิทธิพื้นฐานที่ถูกระบุไว้ในทั้งฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights, ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีรัฐ

สำหรับเครือข่ายนักวิชาการในภาวะเสี่ยง (SAR) เป็นเครือข่ายของนักวิชาการและสถาบันการศึกษาทั่วโลกที่รวมตัวกันปกป้องนักวิชาการและนักศึกษาที่ถูกคุกคามโดยรัฐ สนับสนุนและส่งเสริมเสรีภาพทางวิชาการ โดยจะมีการบันทึกกรณีการจับกุม กักขัง การสังหาร และการละเมิดสิทธิชนิดอื่น นอกจากนี้ SAR ยังทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการและการแสดงออกความคิดเห็นอย่างสันติโดยนักวิชาการและนักศึกษา SAR มีสมาชิกที่เป็นมหาวิทยาลัยและสถานการศึกษามากกว่า 530 แห่งใน 42 ประเทศทั่วโลก SAR ติดตามสถานการณ์ทั้งทางเสรีภาพทางวิชาการและสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางตั้งแต่รัฐประหาร 22 พ.ค.2557 เป็นต้นมา

สถิติประเภทคดีรวมตั้งแต่ 18 ก.ค.2563 ถึง31 มี.ค.2564 ภาพจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเพิ่งเปิดสถิติคดีเดือนมีนาคมมีผู้ถูกดำเนินคดีเพิ่มขึ้น 199 คน ใน 61 คดี และยอดรวม 8 เดือนเกินครึ่งพัน ชี้ปัญหาคดี 112 ส่วนใหญ่มีประชาชนและกลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์ แจ้งความเองอีกทั้งญาติ เพื่อนและทนายความของผู้ที่ถูกคุมขังยังเยี่ยมได้ยาก การติดตามของศูนย์ทนายความฯ หลังการกลับมาบังคับใช้ม.112 อีกครั้งในช่วงปลาย พ.ย. 63 จนถึงวันที่ 1 เม.ย.64 พบว่ามีผู้ถูกดำเนินคดีม.112 ไปแล้วอย่างน้อย 82 คน ใน 74 คดี และมีผู้ถูกคุมขังระหว่างการต่อสู้คดีการเมืองช่วงเวลานี้เป็น รายที่ 20 โดยเป็นคดีตาม ม. 112 รายที่ 13

วันนี้ (8 เม.ย.64) แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม รายงานความคืบหน้าการอดอาหารประท้วงของ เพนกวิน พริษฐ์ นั้นมาถึงวันที่ 24 แล้ว ส่วนของ รุ้ง ปนัสยา อดอาหารเป็นวันที่ 10 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net