Skip to main content
sharethis


 


สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดลแนะกินมื้อเช้าช่วยลดความอ้วน เพราะควบคุมปริมาณการกินมื้อถัดไปได้ดีขึ้น


 


ดร.สิติมา จิตตินันทน์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยในรายงานการทบทวนองค์ความรู้ทางวิชาการด้านอาหารและน้ำ: ปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยการสนับสนุนของเครือข่ายวิจัยสุขภาพ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในประเด็นอาหารเช้ากับสุขภาพว่า หากไม่กินอาหารเช้าจะทำให้น้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน เพราะร่างกายอดอาหารมาประมาณ 10 -12 ชั่วโมงนับจากมื้อเย็น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จึงมีแนวโน้มจะกินอาหารที่มีพลังงานและไขมันสูงในมื้อเที่ยงมากขึ้น


 


จากการศึกษาอื่นๆ ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันโดยตรงระหว่างการรับประทานอาหารเช้ากับการควบคุมน้ำหนัก เช่น รายงานการวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งถูกตีพิมพ์ใน The Journal of Obesity Research ในปี 2002 พบว่า ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครกว่า 3,000 คนซึ่งกินอาหารเช้าเป็นประจำสามารถลดน้ำหนักส่วนเกินและรักษาน้ำหนักให้คงที่ได้สำเร็จ เพราะการกินอาหารเช้าช่วยควบคุมความหิวและปริมาณการกินในมื้อถัดไปได้


 


นอกจากนี้ ผลการวิจัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกา เมื่อปี 2003 ยังพบว่า การกินอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมออาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจด้วย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net