Skip to main content
sharethis

เรามักได้ยินประโยคที่ว่า “ทุกที่มีกฎ” หรือ “กฎต้องเป็นกฎ” แต่มันเป็นแบบนั้นเสมอไปแน่หรือ ? ชวนดู 3 ตำนานการต่อสู้เพื่อ ‘ชุดสะดวกใส่’ เพราะกฎสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย ซึ่งไม่มีครั้งไหนที่ปราศจากการต่อสู้

แก้ไขข้อความ: เมื่อปี 2564 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ออกประกาศใหม่เกี่ยวกับแนวทางการแต่งกาย extern
ที่ปฏิบัติงานใน ร.พ.จุฬาฯ ลงวันที่ 25 มิ.ย. 64

ทนายหญิงใส่กางเกงว่าความได้ หลังต่อสู้กว่า 3 ปี

  • 24 มี.ค. 2566 เนติบัณฑิตยสภาได้ออกข้อบังคับใหม่ เห็นชอบให้สมาชิกหญิงใส่กางเกงว่าความได้ หลังมหากาพย์ต่อสู้กว่า 3 ปี 
  • แม้หลายอาชีพจะให้ผู้หญิงสามารถสวมใส่กางเกงขณะทำงานได้ แต่บางอาชีพก็ยังมีกรอบกำหนดการแต่งกายโดยยึดโยงกับเพศ ทนายความเป็นหนึ่งในอาชีพที่ยังมีกรอบในการแต่งกายอยู่ 
  • เมื่อปี 2529 หรือกว่า 36 ปีที่แล้ว ข้อบังคับสภาทนายความกำหนดให้ในเวลาว่าความ ทนายหญิงต้องใส่กระโปรงและเสื้อสีสุภาพไม่ฉูดฉาด 
  • การฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าวจะมีผลต่อหน้าที่การงาน ทนายความหญิงที่สวมใส่กางเกงว่าความมักถูกผู้พิพากษา-อัยการตักเตือน ตำหนิ เนื่องจากเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ มีโทษ 3 สถานคือ ภาคทัณฑ์ ห้ามทำการเป็นทนายความมีกำหนดไม่เกินสามปี หรือลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ 
  • กฎเกณฑ์นี้ถูกมองว่าไม่สมเหตุสมผล เพราะปัจจัยที่ทำให้คนเลือกทนายความก็คือความสามารถและผลการทำงาน ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการแต่งกาย อีกทั้งกฎดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับยุคสมัย ควรปรับแก้ให้สอดรับกับหลักความเท่าเทียมทางเพศตามรัฐธรรมนูญ
  • อ่านมหากาพย์การต่อสู้ของกลุ่มทนายสิทธิได้ที่นี่

แคมเปญในเว็บไซต์ change.org

Extern จุฬาฯ ใส่กางเกง-รองเท้าผ้าใบใน รพ.ได้ หลังสโมฯ รุ่น 63 ผลักดัน

  • เมื่อปี 2564 สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กแจ้งว่า Extern จุฬาฯ ใส่กางเกงและรองเท้าผ้าใบได้แล้ว เนื่องจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ออกประกาศใหม่เกี่ยวกับแนวทางการแต่งกาย extern ที่ปฏิบัติงานใน ร.พ.จุฬาฯ ลงวันที่ 25 มิ.ย. 64 ซึ่งมีเนื้อหาเปลี่ยนแปลงจากประกาศฉบับก่อน โดยสรุปดังนี้

1. อนุญาตให้นิสิตแพทย์เวชปฏิบัติ (หญิง) ใส่กางเกงขายาว สีและแบบสุภาพ ในเวลาราชการได้

2. อนุญาตให้นิสิตแพทย์เวชปฏิบัติทุกคน ใส่รองเท้าผ้าใบหุ้มส้น สีและแบบสุภาพ ในเวลาราชการได้ 

  • การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เกิดจากการผลักดันของสโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 63 มีวัตถุประสงค์เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานขณะดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก

นิสิต-นักศึกษา LGBTQ หลายมหา’ ลัย แต่งกายตามเพศสภาพได้  

  • ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ หลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทยอนุญาตให้นักศึกษา LGBTQ แต่งกายตามเพศสภาพได้แล้ว อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จุฬาฯ: เมื่อปี 62 จุฬาฯ อนุญาตให้นิสิตผู้มีความหลากหลายทางเพศสามารถแต่งชุดนิสิตตามเพศสภาพที่แสดงออกได้โดยไม่ต้องยื่นเอกสารขออนุญาต หลังจากนิสิตเข้ายื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) เพื่อขอให้คืนสิทธิในการแต่งกายและการใช้ชีวิตตามเพศสภาพในรั้วมหาวิทยาลัย และไต่สวนกรณีถูกอาจารย์พิเศษท่านหนึ่งเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ
  • ก่อนหน้านี้ จุฬาฯ อนุญาตให้บัณฑิตแต่งกายตามเพศสภาพเข้าพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร พร้อมไม่ระบุคำนำหน้านาม แต่ยังถูกมองว่าไปไม่ถึงความเท่าเทียม เนื่องจากนิสิตจะต้องเขียนคำร้องขอแต่งกาย ซึ่งขัดตามหลักสิทธิเสรีภาพที่ควรแสดงออก (ที่มา: Thai PBS)
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: เมื่อปี 64 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้อนุมัติ “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการแต่งกายและเครื่องแบบนักศึกษา พ.ศ.2564” ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การให้นักศึกษาสามารถแต่งกายตามเพศกำเนิด หรือเพศสภาพได้ จากแต่เดิมที่มีการบังคับนักศึกษาให้แต่งกายให้ตรงคำนำหน้าชื่อ
สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net