Skip to main content
sharethis

“ถ้าคุณเห็นเด็กบุคลิกแบบนี้เข้าไปในบัลลังก์พิจารณา สิ่งแรกที่คุณควรจะทำคือคุณต้องทำความเข้าใจเขา”

16 ม.ค. 66 ‘วิชิต ลีธรรมชโย’ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา พูดถึงมุมมองที่ตนมีต่อศาล และ ‘ทานตะวัน ตัวตุลานนท์’ นักกิจกรรมอิสระ ขณะที่ตะวันเดินทางจากบ้านไปศาลอาญารัชดาเพื่อขอถอนประกันตัวเองพร้อมกับ ‘แบม อรวรรณ’ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังด้วยคดีการเมืองทั้งหมด ปฏิรูปศาล และให้พรรคการเมืองมีนโยบายปกป้องสิทธิเสรีภาพการแสดงออก ซึ่งต่อมาศาลมีคำสั่งถอนประกัน เป็นผลให้ทั้งสองเข้าเรือนจำในวันนั้นทันที

วิชิตกล่าวว่าตนค่อนข้างสนิทสนมกับตะวัน มองตะวันเป็นลูกคนหนึ่ง และเห็นว่าตะวันเป็นเด็กที่ไม่ได้คิดอะไรมากกว่าการที่อยากทำให้ประเทศดีขึ้น เด็กในวัยดังกล่าวมีพลังงานจินตนาการของตัวเอง ดังนั้นศาลควรต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่มองว่าเยาวชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเป็นอริราชศัตรูที่ต้องถูกกำจัด 

ต่อมา ตะวันและแบมประกาศยกระดับการเรียกร้องด้วยการอดน้ำและอาหารจนกว่า 3 ข้อเรียกร้องจะเป็นผล และจะไม่ขอยื่นประกันตัวเอง โดย 3 ข้อเรียกร้องมีดังนี้

1.ต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ศาลต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพในการแสดงออกเป็นอย่างแรกมาก่อนสิ่งอื่นใด ต้องเป็นอิสระ ปราศจากอำนาจนำ ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน และผู้บริหารศาลต้องไม่แทรกแซงกระบวนการพิจารณาคดี

2.ยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม และการแสดงออกทางการเมือง

3.พรรคการเมืองทุกๆ พรรคต้องเสนอนโยบายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยการยกเลิก ม.112 และ ม.116

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net