Skip to main content
sharethis

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของนิสิต นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เรียนอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 1,185 คน พบว่า ส่วนใหญ่เมื่อเรียนจบแล้วอยากทำงานในหน่วยงานเอกชน (ร้อยละ 39.6) รองลงมา คือ ประกอบธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 25.7) หน่วยงานราชการ (ร้อยละ 18.2) และ รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 16.5) ตามลำดับ ทั้งนี้นิสิตนักศึกษาร้อยละ 41.9 ไม่แน่ใจในนโยบายของรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่ให้ผู้ทำงานวุฒิปริญญาตรีมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท ว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่ ในขณะที่ ร้อยละ 29.5 เชื่อว่าทำได้ และ ร้อยละ 28.6 เชื่อว่าทำไม่ได้ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลจะดำเนินนโยบายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการให้เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป (เห็นด้วยร้อยละ 61.7) การใช้คุณภาพของบัณฑิตเป็นตัวชี้วัดว่าใครควรจะได้ค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท (เห็นด้วยร้อยละ 57.1) และ สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปแต่รายได้ยังต่ำกว่า 15,000 บาทใช้วิธีเพิ่มค่าครองชีพ เพื่อให้ได้รับเงินเดือนรวมแล้วเป็น 15,000 บาท ต่อเดือน (เห็นด้วยร้อยละ 56.9) นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า หากนโยบายข้างต้นมีผลบังคับใช้จริงจะส่งผลกระทบต่อการหางานเมื่อจบการศึกษาถึง ร้อยละ 69.4 (ได้แก่ อาจทำให้หางานยากขึ้น และเกณฑ์ในการรับสมัครน่าจะเข้มขึ้น ฯลฯ) ขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุว่าไม่ส่งผลกระทบ (โดยให้เหตุผลว่า เรียนในสาขาที่มีงานรองรับอยู่แล้ว มีสถานประกอบการเยอะ และตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาโท ฯลฯ) สำหรับความกังวลต่อนโยบายดังกล่าวคือกังวลว่าบริษัทเอกชนจะเปิดรับผู้ที่จบปริญญาตรีเข้าทำงานลดลงร้อยละ 30.0 รองลงมาคือกลัวจะถูกเลิกจ้างเมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งเพราะหน่วยงานแบกรับภาระเรื่องค่าจ้างไม่ไหวร้อยละ 18.5 และกลัวจะไม่มีงานทำและว่างงานร้อยละ 17.9 ส่วนเรื่องที่อยากฝากบอกรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากที่สุดคือ ให้เร่งทำทุกนโยบายให้เป็นจริงตามที่ได้หาเสียงไว้ร้อยละ 33.0 รองลงมาคือ ให้ประเทศพัฒนายิ่งขึ้น และนึกถึงประโยชน์ของประชาชนมาก่อนร้อยละ 12.0 และให้ตั้งใจทำงานให้เต็มที่ร้อยละ 10.4 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้ 1. หน่วยงานที่นิสิตนักศึกษาอยากจะทำงานเมื่อเรียนจบแล้ว คือ เอกชน ร้อยละ 39.6 ประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 25.7 ราชการ ร้อยละ 18.2 รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.5 2. ความเชื่อมั่นที่มีต่อนโยบายของรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่ให้ผู้ทำงานวุฒิปริญญาตรีมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท คือ เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 29.5 เชื่อว่าทำไม่ได้ ร้อยละ 28.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 41.9 3. ความคิดเห็นต่อแนวทางของรัฐบาลที่จะดำเนินนโยบายจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ที่จบปริญญาตรีเดือนละ 15,000 บาท มีดังนี้ แนวทาง เห็นด้วย (ร้อยละ) ไม่เห็นด้วย (ร้อยละ) ไม่แน่ใจ (ร้อยละ) ให้เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป 61.7 9.8 28.5 ใช้คุณภาพของบัณฑิตเป็นตัวชี้วัดว่าใครควรจะได้เงินค่าจ้าง 15,000 บาท 57.1 16.3 26.6 สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปแต่รายได้ยังต่ำกว่า 15,000 บาทใช้วิธีเพิ่มค่าครองชีพ เพื่อให้ได้รับค่าจ้างรวมแล้วเป็น 15,000 บาท ต่อเดือน 56.9 13.7 29.4 4. ผลกระทบต่อการหางานเมื่อจบการศึกษาหากนโยบายข้างต้นมีผลบังคับใช้จริง คือ เชื่อว่าจะส่งผลกระทบ ร้อยละ 69.4 (ได้แก่ หางานยากขึ้น มีการแข่งขันแย่งงานกันมากขึ้น และเกณฑ์ในการรับสมัครอาจจะเข้มขึ้น ฯลฯ) เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ ร้อยละ 30.6 (โดยระบุว่า เรียนในสาขาที่มีงานรองรับอยู่แล้ว มีสถานประกอบการเยอะ มีธุรกิจส่วนตัว และตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาโท ฯลฯ ) 5. เรื่องที่นิสิตนักศึกษากังวลมากที่สุดหากรัฐบาลจะดำเนินนโยบายดังกล่าว คือ กังวลว่าบริษัทเอกชนจะเปิดรับผู้ที่จบปริญญาตรีเข้าทำงานลดลง ร้อยละ 30.0 กลัวจะถูกเลิกจ้างเมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งเพราะหน่วยงาน ร้อยละ 18.5 แบกรับภาระเรื่องค่าจ้างไม่ไหว กลัวจะไม่มีงานทำ / ว่างงาน ร้อยละ 17.9 เกิดการแข่งขันเพื่อเข้าทำงานราชการมากขึ้น ร้อยละ 13.9 กังวลว่าต้องสมัครงานในวุฒิที่ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 3.6 อื่นๆ อาทิ กลัวเรื่องเงินเฟ้อ ของแพงขึ้น เป็นหนี้ เป็นต้น ร้อยละ 3.2 ไม่กังวล ร้อยละ 12.9 6. เรื่องที่อยากฝากบอกรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) ให้เร่งทำทุกนโยบายให้เป็นจริงตามที่ได้หาเสียงไว้ ร้อยละ 33.0 ให้ประเทศพัฒนายิ่งขึ้น และนึกถึงประโยชน์ของประชาชนมาก่อน ร้อยละ 12.0 ให้ตั้งใจทำงานให้เต็มที่ ร้อยละ 10.4 ให้ทำงานอย่างสุจริต ไม่โกงกิน ร้อยละ 7.9 ให้ทำนโยบายค่าตอบแทนปริญญาตรีเดือนละ 15,000 ให้สำเร็จ ร้อยละ 7.5

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net