Skip to main content
sharethis

ข้อมูลจากสำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบช่วง 5 ปี (2562-2566) จำนวนสมาชิกสหภาพแรงงานในกิจการเอกชนเคยพุ่งขึ้นสูงถึง 509,020 คน ในปี 2565 กลับลดจำนวนลงมาต่ำสุดที่ 388,059 คน ในปี 2566 


แฟ้มภาพวันแรงงานปี 2559

1 พ.ค. 2567 เนื่องในวันแรงงานสากล (1 พ.ค.) "สหภาพแรงงาน" ถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการธำรงไว้ซึ่งความสมดุลและความเป็นธรรมในสังคม สหภาพแรงงานมิใช่เป็นเพียงแต่เป็นกลไกในการเจรจาต่อรองเงื่อนไขการจ้างงานให้แก่ผู้ใช้แรงงานเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ตลอดจนเป็นสื่อกลางในการระงับข้อพิพาทกับนายจ้างตามแนวทาง "แรงงานสัมพันธ์"

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ในหลายประเทศจะพบว่า สหภาพแรงงานมีบทบาทอันโดดเด่นในการผลักดันให้เกิดสิทธิและมาตรฐานการทำงานที่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้แรงงานมากมาย ตั้งแต่การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ การจำกัดชั่วโมงการทำงาน การห้ามการใช้แรงงานเด็ก รวมไปถึงการคุ้มครองสิทธิในการรวมกลุ่มและเจรจาต่อรอง ซึ่งถือเป็นหลักการสากลที่แพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก

ในยุคปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี บทบาทของสหภาพแรงงานจึงยิ่งทวีความสำคัญต่อแรงงานมากขึ้น

ข้อมูลที่รวบรวมจากสำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบมีประเด็นเกี่ยวกับสหภาพแรงงานและกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทยที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

จำนวน “สหภาพแรงงานและจำนวนสมาชิกสหภาพแรงงาน” ระหว่างปี 2562-2566

ปี

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ

สหภาพแรงงานในกิจการเอกชน

จำนวน (แห่ง)

จำนวนสมาชิก (คน)

จำนวน (แห่ง)

จำนวนสมาชิก (คน)

2562

48 

170,599

1,401 

449,371

2563

47 

153,876

1,422 

454,539

2564

45 

152,338

1,432 

458,052

2565

45 

144,514

1,424

509,020

2566

45 

143,143

1,292 

388,059

 

จำนวน "ข้อเรียกร้อง" ระหว่างปี 2556-2565

"ข้อเรียกร้อง" หมายความว่า ข้อเสนอเป็นหนังสือของนายจ้าง หรือลูกจ้าง หรือสมาคมนายจ้าง หรือสหภาพแรงงาน แจ้งต่ออีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้มีการกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการในมาตรา 13  หรือ มาตรา 15

ปี

ยื่นข้อเรียกร้องในสถานประกอบการ 

ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง (คน)

แห่ง

ครั้ง

2556

393

432

351,356 

2557

485

552

471,297

2558

542 

594 

502,976

2559

543

617

551,462

2560

523

582

449,065

2561

495

546

398,805

2562

453

500

449,023

2563

474

534

396,471

2564

431

484

368,107

2565

471

530

420,120

 

จำนวน “ข้อพิพาทแรงงาน นัดหยุดงาน ปิดงาน” ระหว่างปี 2556-2565

"ข้อพิพาทแรงงาน" หมายความว่า ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ เมื่อลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน หรือนายจ้างหรือสมาคมนายจ้างได้แจ้งข้อเรียกร้องเพื่อให้มีการกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและไม่ได้เริ่มเจรจากันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด 3 วันในกิจการเอกชน และ 5 วันในกิจการัฐวิสาหกิจ นับแต่วันที่ฝ่ายหนึ่งรับข้อเรียกร้องจากอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ เมื่อทั้งสองฝ่ายได้เจรจาต่อรองเกี่ยวกับข้อเรียกร้องดังกล่าว แต่ตกลงกันไม่ได้บางส่วนหรือทั้งหมดและไม่ประสงค์จะเจรจากันต่อไป และฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้องได้แจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทรายเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ย

"การนัดหยุดงาน" หมายความว่า การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ในกิจการใดๆ ยกเว้นกิจการตามมาตรา 23 ลูกจ้างใช้สิทธินัดหยุดงานได้เฉพาะลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง โดยแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างและพนักงานประนอมฯ ทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงก่อนนัดหยุดงาน

"การปิดงาน" หมายความว่า การที่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ในกิจการใดๆ  ยกเว้นกิจการตามมาตรา 23 นายจ้างใช้สิทธิปิดงานลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องได้ โดยแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้แทนลูกจ้าง หรือสหภาพแรงงานและพนักงานประนอมฯ ทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงก่อนปิดงาน

สำหรับกิจการตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้แก่ (1) กิจการทุกประเภทของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (2) กิจการของวิทยาลัยเอกชนและโรงเรียนราษฎร์ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยาลัยเอกชน และกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ (3) กิจการสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ (4) กิจการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมตลอดถึงกิจการบริการเสริมการขนส่งหรือเกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง ณ สถานีขนส่ง ท่าเทียบเรือ ท่าอากาศยาน และกิจการการท่องเที่ยว (5) กิจการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง

ปี

การพิพาทแรงงาน

การนัดหยุดงาน

การปิดงาน

แห่ง

ครั้ง

ลูกจ้างเกี่ยวข้อง

ครั้ง 

ลูกจ้างเกี่ยวข้อง 

วันหยุดงาน

วันทำงานที่สูญเสีย

ครั้ง 

ลูกจ้างเกี่ยวข้อง 

วันหยุดงาน

วันทำงานที่สูญเสีย

2556

82 

92

78,837

6,617

84

87,903

4

1,086

20

4,877

2557

102

117

82,464

3

2,606

127

125,135

5

1,038 

224

50,074

2558

100

114

104,654

1

348

106

36,888

5

1,710 

229

51,308

2559

104

120

83,969

2

2,758

23

8,239

4

621

252

24,878

2560

103

117

132,093

2

1,655

21

6,455

3

1,872

59

55,939

2561

89

98

67,572

-

-

-

-

2

58

46

2,668

2562

69

73

70,991

2

596

80

24,990

5

931

150

27,087

2563

75

85

56,647

1

56

29

1,624

-

-

-

-

2564

56

65

44,035

-

-

-

-

-

-

-

-

2565

63

73

69,239

-

-

-

-

1

459

7

3,213

 

จำนวน “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” ระหว่างปี 2556-2565

"ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง" หมายความว่า ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือ ระหว่างนายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

"สภาพการจ้าง" หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้าง อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน

ปี

ข้อตกลงที่ได้รับการจดทะเบียน (ฉบับ)

2556

409

2557

490

2558

465

2559

442

2560

516

2561

457

2562

424

2563

396

2564

397

2565

419

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net