จอห์น เดรเปอร์: มันไม่เคยเกิดขึ้นที่นี่: จิตเวชศาสตร์ทางการเมืองและ ณัฐนันท์ วรินทรเวช

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

น.ส.ณัฐนันท์ วรินทรเวช นักเรียนมัธยมปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมัธยมชื่อดังของไทย เธอกลายเป็นศัตรูของรัฐ ตามข้อกล่าวโทษของผู้บริหารโรงเรียนที่บอกว่าเธอมีภาวะ “ป่วยทางจิต” มาได้สองปีแล้ว และแม้แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย ก็ยังกล่าวว่าเธอเป็นเด็ก “ผิดปกติ” เธอก่ออาชญากรรมหรือ? ที่วิพากษ์ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าค่านิยม 12 ประการได้กลายเป็นอุดมการณ์รัฐไปแล้ว

ตามตัวอย่างสงครามจิตวิทยา 101 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยังพยายามที่จะแยกณัฐนันท์ออกโดยชี้ให้เห็นว่าเธอเป็นเพียงแค่นักเรียนคนหนึ่งจากคนนับล้านๆ แต่อย่างไรก็ตาม ณัฐนันท์ไม่ได้โดดเดี่ยว และจากการโพสต์ข้อความทางเฟสบุคส่วนตัวของเธอ ที่ชี้ให้เห็นความอยุติธรรมของอุดมการณ์รัฐ ได้รับการกดไลค์จากกว่าสองพันคน และตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2557 วันที่เกิดรัฐประหาร กว่า 700 คนถูกเรียกตัวเข้าค่ายทหารเพื่อ 'การปรับทัศนคติ' กลุ่มคนดังกล่าวรวมทั้งนักวิชาการ นักกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัย เกษตรกรสวนยางพารา ผู้นำหมู่บ้าน และนักเขียน ล่าสุดรวมนักศึกษาอีก 14 คนที่ถูกจับกุมในข้อหา 'ปลุกระดม'

ที่รุนแรงยิ่งกว่า คือการที่บอกว่าคนๆหนึ่งเป็นศัตรูต่อรัฐและถูกเรียกไป “ปรับทัศนคติ” นั้น ถือเป็นเรื่องการทำร้ายทั้งต่อร่างกายและจิตใจของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งประเด็นนี้ได้รับการยอมรับจากสำนักงานสหประชาชาติข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนอ้างกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองและปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน – และทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปยังได้แสดงความกังวลในด้านการปฏิบัติต่อประชาชนในลักษณะนี้ของรัฐไทย

ประเด็นเรื่องผลกระทบทางด้านจิตใจนี้เป็นเรื่องที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าในเรื่องการทำความเข้าใจว่าอะไรที่เรียกว่า "ปรับทัศนคติ"- คือ ระบบที่ใช้จัดการกับผู้ที่คิดเห็นต่างทางการเมืองและผู้ที่มีอิสระทางความคิด โดยการสร้างตราสินค้าการรับรู้ต่อสังคมให้เป็น 'ศัตรู' โดยอธิบายว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นคนไม่ปกติ รัฐจึงสร้างวาทกรรมขึ้นมาโดยมีนัยว่า พวกเขาเหล่านั้นต้องได้รับการ 'รักษา' – ซึ่งก็คือการให้ศึกษาใหม่ในค่ายทหาร

ดังนั้นเรายังเริ่มเห็นความไม่ชัดเจนของเส้นที่อยู่เหนือ 'ความเจ็บป่วยทางจิต' นอกจากนี้ ค่าย "ปรับทัศนคติ" เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการที่คนสองคนที่ป่วยทางจิตถูกจองจำ ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือ นายสมัคร จากเชียงราย และฐิตินันท์ โทษจำคุกของนักโทษป่วยทางจิตสำหรับความคิดหรือคำพูด เป็นความผิดทางอาญา ภายใต้การพัฒนาของรัฐบาลทหาร และค่อนข้างหาดูได้ยากในยุคปัจจุบัน ยกเว้นในรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ ที่น่ารำคาญ ก็คือมันมีความคล้ายคลึงกับในช่วงแรกของนาซีที่มีการประหัตประหารคนพิการและคนที่ 'ไม่เหมาะ' ซึ่งนำไปสู่การออกกฎหมายเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2476 เรียกว่า กฎหมายเพื่อการป้องกันลูกหลานที่มีโรคทางพันธุกรรม (Law for the Prevention of Progeny with Hereditary Diseases)

แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นคู่ขนานที่ดีที่สุดสำหรับสิ่งที่ดูเหมือนจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของโซเวียตเกี่ยวกับ 'โรคจิตเวชศาสตร์ทางการเมือง' จิตเวชศาสตร์ทางการเมืองได้รับการกำหนดเป้าหมายและการใช้ระบบข้อกล่าวหาเรื่องการเจ็บป่วยทางจิตที่ชี้เป้าไปที่ผู้ที่มีความเห็นต่างต่อรัฐสังคมนิยมในช่วงระยะเวลาของสหภาพโซเวียต อย่างที่นิกิตา ครุชเชฟ ระบุไว้ในปี 2502 "บรรดาผู้ที่อาจจะเริ่มต้นเรียกร้องให้มีการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์บนพื้นฐานเรื่องนี้ เราสามารถพูดได้อย่างชัดเจนว่าจิตของพวกเขาไม่ปกติ" แนวคิดของการ "นิยามความบ้าทางการเมือง" นี้ถูกนำไปใช้กับผู้คนอย่างน้อย 20,000 คน บางคนประเมินว่าในปี 2531 มีคนจำนวน 5.5 ล้านคน ได้จดทะเบียนเป็นผู้ป่วยเป็นโรคจิต และใน 30% เป็นกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมืองจริง

ในช่วงที่เป็นอิสระมากขึ้น ฮังการีในขณะนั้น มีประมาณ 12 กรณี เพราะฉะนั้น มันจึงไม่ได้เป็นไปโดยระบบและเป็นรูปแบบสถาบัน ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่อาจจะเป็นไปได้ว่า อุดมการณ์แบบสตาลินไม่เคยถูกปลูกฝังรากลึกในสังคมฮังการี ซึ่งมีประวัติศาสตร์แนวคิดทางการเมืองและปรัชญาที่แข็งแกร่งและมีความเป็นอิสระในตัวเอง ในบางกรณีของฮังการีเป็นกรณีที่มีโพรไฟล์ค่อนข้างสูงอย่างเช่น ธีบอ ปัคห์ (Tibor Pákh) ผู้เข้าชิงรางวัล ความทรงจำของชาติ ประจำปี 2557 ผู้ที่เคย "ได้รับการรักษา" ด้วยการช็อตด้วยไฟฟ้าและอินซูลิน โคม่า

ชาวฮังการีผู้คิดต่างคนนี้ถูกใส่ร้ายว่ามีความเจ็บป่วยทางจิตที่รักษาไม่หาย แต่จิตแพทย์ชาร์ลส์ ดูแรนด์ (Charles Durand) ตั้งข้อสังเกตว่าปัคห์ได้ "ประสบความสำเร็จในความกลมกลืนเต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ ความเชื่อทางศาสนาและศีลธรรม และมีวิธีการที่เป็นจริงกับโลกภายนอก ... ธีบอ ปัคห์ ยังคงปรากฏท่ามกลางความเป็นจริงในความเชื่อมั่นทางการเมือง และการอดอาหารประท้วงของเขา คือการประท้วงที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อต่อต้านระบอบการปกครองในขณะนั้น"

ใน 'โรคจิตเวชศาสตร์ทางการเมือง' เราสามารถมองเห็นเส้นขนานโดยตรงกับ 'การปรับทัศนคติและกรณีนางสาว ณัฐนันท์ ที่มีประสบการณ์ของไทยให้เป็นที่ปรากฏอย่างกว้างขวางมากขึ้นกว่าฮังการี แต่ยังเข้มข้นน้อยกว่าทั้งประสบการณ์ฮังการีและสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตามสื่อรายงานว่า ผู้บริหารโรงเรียนบอกว่าเธอป่วยเป็นเวลาสองปีแล้วและพ่อแม่ของเธอก็ได้ขอร้องให้ทางโรงเรียน “ดูแลเธอ” ด้วย นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้อธิบายว่าค่านิยมหลัก 12 ประการนั้น "ไร้ที่ติ" - หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นอุดมการณ์ที่สมบูรณ์ - ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ต้องทำก่อนของเผด็จการเบ็ดเสร็จ เมื่อเทียบกับระบอบอำนาจนิยมที่เราคุ้นเคย

นางสาวณัฐนันท์ ได้แสดงออกถึงความเข้าใจที่ครอบคลุมของสถานการณ์ที่เธอเผชิญอยู่ เช่นเดียวกับปัคห์ ข้อสอบวิชาหน้าที่พลเมือง เธอเลือกที่จะไม่ตอบคำถามที่มีการบังคับให้เด็กเลิกให้การสนับสนุนนักศึกษา 14 คน ของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ที่คนทั่วไปบอกว่าเป็นกลุ่มที่ทำลาย "ความเป็นไทย" ซึ่งในกรณีนี้ ก็มีการระบุว่านางสาวณัฐนันท์ได้ลงนามในคำร้องจริง เพื่อให้มีการปล่อยตัวพวกเขา เธอปฏิเสธที่จะตอบคำถามนี้ คำถามอื่นที่ถามเธอว่าเด็กจะสามารถใช้ 12 ค่านิยมหลักของคนไทยนี้ได้อย่างไร - อุดมการณ์รัฐที่ได้กลายเป็น 'ทฤษฎีทางการเมือง' อย่างรวดเร็วนี้ ตามที่คาร์ล ซมิต นักกฎหมายนาซีได้อธิบายไว้ ค่านิยม 12 ประการนี้ ยังดูเหมือนจะถูกนำมาใช้เป็น 'การทดสอบความภักดี' สำหรับเด็กๆ ร่วมกับระบอบราชาธิปไตแบบบังคับ นางสาวณัฐนันท์เห็นคำถามและค่านิยมหลัก 12 ประการ เป็นอุดมการณ์เผด็จการเข้มแข็ง และเธอเลือกที่จะปฏิเสธด้วยการส่งกระดาษเปล่าแทนคำตอบ และตามมาด้วยการเขียนจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ผ่านเฟสบุคส่วนตัว

มากกว่านั้น นางสาวณัฐนันท์มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ครอบคลุม ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้ที่ทำให้คนไทยเป็นล้านๆ ให้การสนับสนุนเธอ- เธอเป็นเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท กลุ่มนี้มีความประสงค์ที่จะส่งเสริม "ความเชื่อที่ว่าการปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยเป็นสิ่งที่จำเป็นและปรัชญาของกลุ่มที่เชื่อว่าการศึกษาควรเน้นที่ด้านความเป็นมนุษย์ ความเชื่อของนักเรียนและครู การเคารพต่อมนุษยศาสตร์และความรู้ภายในของปัจเจกบุคคล ในขณะที่อย่ามองเราเป็นเพียงภาชนะที่ว่างเปล่าที่จะบังคับให้เราเชื่ออุดมการณ์ต่างชาติ หรือเป็นเพียงเป้าหมายในการใช้อำนาจ (ยกตัวอย่างเช่น การสร้างกฎระเบียบ) โดยไม่ได้ตามตรรกะของประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ในสาระสำคัญ การดำรงอยู่ของกลุ่มนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความทุ่มเทของเยาวชนไทยและความมุ่งมั่นที่จะต่อต้านการใช้งานของระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อหรือการใช้งานที่มีวาระทางการเมืองซ่อนเร้น" การใช้คำว่า “สยาม” เป็นการย้อนกลับไปถึงยุคของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นช่วงการปกครองแบบเผด็จการทหารปี 2482- 2485 และ ข้อบังคับคุณธรรม 12 ประการ ข้อบังคับเหล่านี้ยังได้เปลี่ยนชื่อ สยาม เป็น "ประเทศไทย" และสร้างรัฐชาติหรือ 'ชาติพันธุ์ธิปไตย-ethnocracy' ขึ้นบนพื้นฐานของเชื้อชาติชาตินิยมที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ภาคกลางและมีประชากรอยู่เพียงประมาณ 30% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งทำให้กรุงเทพฯอำนาจในการกำกับวัฒนธรรมและศาสนาของ 'ความเป็นไทย' และระบบเผด็จการที่บังคับวิธีการแต่งกาย การทำงาน และวิธีคิดของคน

แนวคิดเรื่อง “ความเป็นไท” มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งได้รับการรณรงค์เริ่มแรกโดย อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ที่ในปี 2552 ได้เขียนจดหมายสาธารณะส่งถึงนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิรูปครั้งแรก คือข้อความดังต่อไปนี้: 1. แก้ไขคำว่า 'รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย' เป็น 'รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม "หรือ" รัฐธรรมนูญแห่งสยาม' เพื่อส่งเสริม 'ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน' 'ความสามัคคี 'และ' ความปรองดองในประเทศของเรา ที่มีประชากรกว่าหกสิบล้านคน รวมกว่าห้าสิบกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันด้วยการมีภาษาเป็นของตัวเอง:  ไทย  ไต ญวณ ลาว ลื้อ มลายู มอญ ขแม กุย แต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ ฮากก้า จาม ชวา ซาไก มอแกน ทมิฬ ปาทาน เปอร์เซีย อาหรับ โฮ พวน  ไทใหญ่ ภูไท เขิน เวียด ยอง ละว้า ม้ง กะเหรี่ยง ปะหล่อง มูเซอ อาข่า ขะมุ มลาบรี ชอง ญัฮกุร บรู อุรักลาโว้ย ชาวตะวันตกหลายๆ เผ่าพันธุ์ คนที่เกิดจากพ่อแม่ต่างเชื้อชาติ และอื่นๆ ความหมายของประเด็นนี้ คือการรับรู้อย่างเป็นทางการว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศ- มีตัวตนที่แท้จริง มีความหลากหลาย และเป็นอิสระ ในขณะที่เรื่องนี้อาจจะบ่งบอกถึงวิธีการแก้ปัญหาทางสังคมและการเมืองที่มีความซับซ้อน อาจจะผ่านทางสังคมประชาธิปไตย เช่นเดียวกับวิธีการปกครองแบบบริหารเชื้อชาติ (consociational)

ปฏิรูประบบการศึกษาภายใต้จิตวิญญาณของความเป็นสยาม ได้บอกเป็นนัยว่านางสาวณัฐนันท์มีอุดมการณ์ที่ชาญฉลาดอย่างยิ่ง ความฝันของนางสาวณัฐนันท์จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่คุ้มค่า นอกจากนี้เธอไม่ได้ปฏิเสธค่านิยมหลัก 12 ประการ แต่วิธีการที่ค่านิยมเหล่านี้ถูกบรรจุโดยการบังคับด้วยคำสั่งจากคนที่ได้กลายเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ เช่นเดียวกับปัคห์ ณัฐนันท์มี "ความคุณสมบัติครบถ้วนของ ... อุดมการณ์ ลัทธิความเชื่อทางศาสนาและศีลธรรม และมีวิธีการที่เป็นจริงกับโลกภายนอก"

นางสาวณัฐนันท์ถูกข่มเหงรังแกในขณะที่ยังเล็กและเป็นเพียงเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่ประท้วงการทับซ้อนระหว่างความเชื่อทางศาสนากับทฤษฎีทางการเมือง กรณีของเธอน่าจะเป็นเคสแรกที่จะได้รับการปกป้องโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ หากว่าคณะกรรมการสิทธิฯ ชุดใหม่ไร้ความสามารถ ประเทศไทยก็จะมุ่งหน้าเดินไปสู่ระบอบเผด็จการ และเมื่อหลายร้อยกรณีของ "คนที่ผิดปกติ" ก็จะกลายเป็นพัน- หรือที่น่ากังวลมากกว่านั้น มันจะเริ่มชัดขึ้นเพราะทฤษฎีทางการเมืองที่มาจากค่านิยมหลัก 12 ประการจะกลายเป็นองค์ประกอบทั้งหมด และการประท้วงใด ๆ ก็จะถูกทำให้กลายเป็น "โรคจิตเวชศาสตร์ทางการเมือง"- เราจะสามารถที่จะมองกลับไปที่กรณีนี้และจดจำไว้ เราคิดว่ามันไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่มันก็ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อต้นในปี 2558 โดยเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่ง

“เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและอิสระในการคิดควรจะมีอยู่ทั่วไปในสังคม ไม่อย่างนั้นเราจะไร้ซึ่งอนาคต”

ณัฐนันท์ วรินทรเวช

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท