ธนาพล: เมื่อ ‘กงจักรปีศาจ’ เป็นหนังสือต้องห้าม ‘หลัง’ จับคนขายหนังสือ

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

<--break- />

<--break- />

ว่าด้วยการห้ามหนังสือ The Devil's Discus by Rayne Kruger และฉบับแปล กงจักรปีศาจ โดย ร.อ.ชลิต ชัยสิทธิเวช

......................

หนังสือ กงจักรปีศาจ กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง เมื่อมีข่าวจำคุกคนขายหนังเสือเล่มดังกล่าว 2 ปี 

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ จำคุกลุงขายหนังสือกงจักรปีศาจ 2 ปี 
http://www.prachatai.com/journal/2015/04/58917

ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 เวลา 19.00 น. ที่บริเวณพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) นำโดยสนธิ ลิ้มทองกุล ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร

จากข้อเขียนของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล หนังสือ The Devil's Discus เขียนโดย Rayne Kruger พิมพ์ครั้งแรกและครั้งเดียวโดยสำนักพิมพ์ Cassell ลอนดอนเมื่อปี 2507 (1964) แทบจะทันที่ที่หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ออกมา ก็มีการสั่งห้ามโดยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ทันที (ดูภาพประกอบ)

กว่าหนังสือเล่มดังกล่าวจะมาสู่โลกภาษาไทย ก็รอจนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ตามที่สมศักดิ์ ได้บรรยายว่า 

"จู่ๆ ตลาดหนังสือกรุงเทพก็เต็มไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับกรณีสวรรคตในหลวงอานันท์ฯ ที่ใจกลางของปรากฏการณ์นี้คือหนังสือ 2 เล่ม ที่ออกวางตลาดห่างกันเพียงหนึ่งสัปดาห์: กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489 ของ นายแพทย์สรรใจ แสงวิเชียร และ วิมลพรรณ ปีต-ธวัชชัย และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ของสุพจน์ ด่านตระกูล ซึ่งภายในไม่กี่สัปดาห์ต่างได้รับการพิมพ์ซ้ำและขายได้รวมกันหลายหมื่นเล่ม ผลสำเร็จของทั้งคู่ทำให้เกิดการตีพิมพ์หนังสือกรณีสวรรคตอีกอย่างน้อย 6 หรือ 7 เล่ม เช่นในหลวงอานันท์กับคดีลอบปลงพระชนม์ ของชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ (ซึ่งภายหลังถูกปรีดี พนมยงค์ ฟ้องจนแพ้ความ) ความเห็นแย้งคำพิพากษากรณีสวรรคต ของ นเรศ นโรปกรณ์ และ คดีประทุษร้ายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (ซึ่งเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น, อุทธรณ์ และฎีกาในคดีนี้ พิมพ์เป็นเล่มขนาดใหญ่และหนาถึง 2 เล่ม โดยสำนักพิมพ์กรุงสยาม โดยไม่มีคำนำหรือคำอธิบายใดๆ)[หลังจากนั้น]"

หนังสือกรณีสวรรคตที่ “ร้อน” เป็นที่ต้องการมากที่สุดในแวดวงนักกิจกรรมการเมืองกลับเป็นอีกเล่มหนึ่งที่น้อยคนนักจะเคยได้เห็นตัวจริง, อย่าว่าแต่อ่าน: กงจักรปีศาจ

หนังสือมีสถานะเป็น “ตำนาน” ในหมู่ผู้สนใจการเมืองว่าเป็นงานที่เขียนโดยฝรั่ง ที่เปิดเผย “ความลับดำมืด” กรณีสวรรคตในหลวงอานันท์ฯชนิดที่หนังสือที่เขียนโดยคนไทยทำไม่ได้ จนกลายเป็นหนังสือ “ต้องห้าม” ผิดกฎหมาย ไม่สามารถมีไว้ในครอบครองได้ ซึ่งแน่นอนยิ่งทำให้เป็นที่ต้องการกันมากขึ้น! ในท่ามกลางภาวะที่กระแสสูงของหนังสือกรณีสวรรคตท่วมตลาดกรุงเทพกลางปี 2517 นั้นเอง ก็มีข่าวลือแพร่สะพัดว่าได้มีผู้ถือโอกาสพิมพ์ กงจักรปีศาจ ฉบับภาษาไทยออกเผยแพร่อย่างลับๆ

กงจักรปีศาจ ฉบับภาษาไทยที่ขายกัน “ใต้ดิน” ในปี 2517 ในราคาเล่มละ 25 บาทนี้ เป็นหนังสือขนาด 16 หน้ายก (5 นิ้วคูณ 7 นิ้วครึ่ง) หนา 622 หน้า ปกพิมพ์เป็นสีดำสนิททั้งหน้าหลัง กลางปกหน้ามีพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงอานันท์ฯวัยเยาว์ในกรอบรูปไข่ บนสุดของปกหน้ามีข้อความพิมพ์เป็นตัวอักษรสีขาว 3 บรรทัดว่า

บทวิเคราะห์กรณีสวรรคต
ของในหลวงอานันท์ฯ
9 มิถุนายน 2489

ด้านล่างเป็นชื่อหนังสือ พิมพ์ด้วยอักษรสีแดง กงจักรปีศาจ ตามด้วยอีก 2 บรรทัดพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีขาว

Rayne Kruger เขียน
ร.อ.ชลิต ชัยสิทธิเวช ร.น. แปล

ที่มุมล่างซ้ายของปกหลังมีข้อความพิมพ์เป็นตัวอักษรเล็กๆสีขาว 4 บันทัดว่า

ชมรมนักศึกษาประวัติศาสตร์ จัดพิมพ์
พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคัดจากสำนวนศาลแพ่ง
คดีดำที่ 7236/2513 ระหว่างนายปรีดี พนมยงค์ โจทก์
บริษัทสยามรัฐจำกัด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับพวก จำเลย

ดู สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล “กงจักรปีศาจ และหนังสือเกี่ยวกับกรณีสวรรคต” 
http://somsakwork.blogspot.com/2008/06/blog-post.html

หลังจากนั้น วิวาทะว่าด้วยกรณีสวรรคตก็เกิดขึ้นและจบลงด้วยเวลาไม่นาน 
ต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งนำมาสู่การ “ห้าม” หนังสือหลายร้อยเล่ม 

ดู
1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 18 ง ฉบับพิเศษ วันที่ประกาศ 11 มีนาคม พ.ศ.2520

2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 97 ง ฉบับพิเศษ วันที่ประกาศ 19 ตุลาคม พ.ศ.2520

3 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 97 ตอนที่ 95 ง วันที่ประกาศ 24 มิถุนายน พ.ศ.2523
.
4 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 97 ตอนที่ 180 ง วันที่ประกาศ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2523

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/special/search_result.jsp?SID=77C7BBDAF9C928B00BCD7C1B35C5BD9B

แต่ปรากฏว่าหนังสือ กงจักรปีศาจ กลับไม่อยู่ในรายชื่อของคำสั่งห้ามทั้ง 4 ฉบับ แต่อย่างใด

ต่อมาประกาศหนังสือต้องห้ามทั้ง 4 ฉบับก็ได้รับการยกเลิก แต่หนังสือ กงจักรปีศาจ ฉบับภาษาไทยที่แปลโดย ชลิต ชัยสิทธิเวช กลับถูกห้ามในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ในสมัยทักษิณ ชินวัตร หลังการจับกุมคนขายหนังสือเล่มดังกล่าว (น่าสนใจว่าการออกคำสั่งย้อนหลังนี่ถือว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพราะเหตุเกิดวันที่ 2 พฤษภาคม 2549)

 

อ่านเพิ่มเติม 
Postscript (ปัจฉิมลิขิต) "กงจักรปีศาจ" ที่ไม่เคยเผยแพร่มาก่อน: ครูเกอร์เขียนถึงปรีดี ซึ่งเขาเพิ่งพบเป็นครั้งแรกในปี 2514

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท