Skip to main content
sharethis

ดูไบ, 3 มี.ค. (ไอพีเอส) -- ด้วยปริมาณแก๊สสำรอง 15% ของโลก,ปัจจุบันกาตาร์มีบทบาทนำในการบุกเบิก "โครงการแก๊สเหลว" (GTL) แก๊สดีเซลปลอดมลภาวะนี้ เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์สำคัญของโครงการ GTL ที่คาดว่าจะเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกให้กับรัฐบาลต่างๆที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมในอนาคต

ภายในปี 2015, แก๊สจีทีแอล.จะสนองตอบความต้องการเชื้อเพลิงดีเซลให้กับโลกได้ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ทำนายว่า ความต้องการเชื้อเพลิงจีทีแอล.จะเพิ่มเป็น 6.26 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2010

ในการแถลงข่าว,นายอับดุลลาห์ บิน ฮามัด อัล แอ็ตติยาห์,รองนายกรัฐมนตรีคนที่สองของกาตาร์,แถลงว่า "ภายในสองสามปีข้างหน้ากาตาร์จะเป็นผู้ส่งออกแก๊สกลั่น(LNG)รายใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งจะเป็นศูนย์ผลิตจีทีแอล.ของโลกและเป็นผู้สนองตอบอุตสาหกรรมเปโตรเคมีรายใหญ่ที่สุดเช่นกัน ขณะนี้ปริมาณแก๊สสำรองของเราอยู่ในอันดับสองของโลก"

ผลผลิตแก๊สกลั่นของกาตาร์ตกราว 18 ล้านตันต่อปี ทั้งกำหนดไว้ว่าจะผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 4 เท่าคือ 77 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ภายในปี 2011 ประเทศอาหรับแห่งนี้มองแก๊สจีทีแอลว่า เป็นทางเลือกหนึ่งในการเอาประโยชน์จากแก๊สธรรมชาติที่มีอยู่

"กาตาร์ได้ผลักดันการลงทุนด้านพลังงานมาแล้วแปดปีโดยวิสาหกิจของรัฐที่ชื่อ "เมืองอุตสาห
กรรมราส ลาฟแฟน" ,80 กม.ทางเหนือของกรุงโดฮาเมืองหลวงของกาตาร์ มูลค่าการลงทุนประมาณ 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ" ทั้งนี้เป็นการแถลงของมาร์ธา โกเมส, ที่ปรึกษาด้านน้ำมันและแก๊สในดูไบ "โครงการนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานภาพของกาตาร์ในฐานะเป็นศูนย์กลางการผลิตแก๊สจีทีแอล.และแก๊สแอลเอ็นจี" เขาว่า

"การสร้างโรงงานผลิตจีทีแอล ทำให้สามารถผลิตแก๊สชนิดนี้ในอัตรา 500 ล้านบาร์เรลต่อวัน เชื่อว่าจีทีแอลเป็นผลิตภัณท์ที่มีคุณค่าสูงสุด โดยเฉพาะหากว่าราคาน้ำมันอยู่ที่บาร์เรลละ 40 ดอลลาร์" นางกล่าวในการให้สัมภาษณ์ไอพีเอส.

ที่จริง กาตาร์ได้รับมอบหมายให้ทำโครงการจีทีแอลรายใหญ่ที่สุดของโลก ปัจจุบันโครงการกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างที่โซนอุตสาหกรรมราสลาฟแฟน ผู้ดำเนินการคือเชลล์,ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก

"นี่เป็นโครงการใหญ่ระดับโลกแห่งแรก ทั้งเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะทำให้กาตาร์เป็นศูนย์กลางจีทีแอล.ของโลกที่จะมีส่วนเกื้อหนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกาตาร์" อัล แอ็ตติยาห์กล่าว

ขณะลงนามในสัญญา,นายฟิลิป วัตต์ส์,ประธานของบริษัทรอยัลดัทช์เชลล์,กล่าวในการแถลงข่าวว่า "นี่ไม่ใช่เพียงเป็นเชื้อเพลิงกลั่นเท่านั้น แต่เป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่จะมีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยแก๊สเสียจากเครื่องยนต์ และสนับสนุนความก้าวหน้าของเทคโนโลยียานยนต์ มันเป็นเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดอนาคตที่ยั่งยืน"

เชลล์มีแผนที่จะแบ่งแยกการพัฒนาโรงงานจีทีแอล.ที่ราสลาฟแฟนเป็นสองส่วน ส่วนแรกมีกำลังการผลิต 70,000 บาร์เรลต่อวันซึ่งจะเปิดทำการผลิตราวปี 2008-2009 ส่วนที่สองจะเปิดราวสองปีหลังจากนั้น

ด้วยเหตุนี้,โรงงานผลิตแก๊สในกาตาร์จะผลิตแก๊สเอนกประสงค์ที่สะอาดและเกื้อหนุนสิ่งแวดล้อม หากโรงงานดังกล่าวเดินเครื่องเต็มที่จะสามารถผลิตแก๊สจีทีแอล.ในปริมาณ 140,000 บาร์เรลต่อวัน
เทคโนโลยีในการผลิตจีทีแอล.นั้นคือการเปลี่ยนแก๊สกลั่นธรรมดา(LNG) ไปเป็นแก๊สที่ใส,ไร้สี,ที่สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลทั่วไป หรือนำไปเจือปนกับน้ำมันดีเซลแบบเดิม เชื้อเพลิงจีทีแอล.ไร้สารกำมะถัน,ไร้สารประกอบโลหะ ทำให้ควันที่ปล่อยออกมามีน้อยกว่าเชื้อเพลิงแบบเดิม

ผลการศึกษาระบุว่า แก๊สจีทีแอล.มีแก๊สคาร์บอนมอนน็อกไซด์น้อยลง และสามารถลดแก๊สไนโตรเจนอ็อกไซด์ได้ถึง 50% ,ลดอนูของสสารได้ 66% และลดการปล่อยไฮโดรคาร์บอนได้ 600%

คาดกันว่า ความต้องการแก๊สของโลกจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าพลังงานอื่นๆ โดยเฉพาะที่ใช้เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ผ่านมาในปี 2000,ปริมาณความต้องการอยู่ที่ 2,442 พันล้านลบม. ประเมินกันว่าในปี 2010 ความต้องการจะเพิ่มขึ้นเป็น 3,282 พันล้านลบม. และ 4,030 พันล้านลบม.ในปี 2020

ปัจจุบัน,ความต้องการแก๊สของโลกตกราว 24% ของความต้องการพลังงานทั้งหมด ขณะความต้องการน้ำมันอยู่ที่ 40% และถ่านหินอยู่ที่ 26% กระนั้น,ภายในปี 2010 ความต้องการแก๊สธรรมชาติจะสูงขึ้นเป็นอันดับสอง แซงหน้าพลังงานจากถ่านหิน

"ประมาณ 70% ของแก๊สสำรองทั่วโลกยังไม่ถูกนำมาป้อนตลาด แก๊สแอลเอ็นจี.และจีทีแอล.คือทางเลือกที่จะนำแก๊สจำนวนมหาศาลมาป้อนให้ตลาด" รอนนี่ โธมัส,ผู้จัดการฝ่ายจัดจำหน่ายของบริษัทน้ำมันในดูไบกล่าว

ในอนาคตอันใก้ลแก๊สจีทีแอล.จะเป็นคู่แข่งของแก๊สแอลเอ็นจี. การแข่งขันทางด้านการตลาดและการลงทุนนั้น โรงงานของจีทีแอล.จะแซงหน้าแก๊สแอลเอ็นจี. ทั้งจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า" เขาว่า

ตามความเห็นของโกเมสซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านน้ำมันและแก๊ส,พลังงานสะอาดที่ได้จากเทคโนโลยีการผลิตแก๊สจีทีแอล.จะช่วยลดต้นทุนเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานอื่นๆที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบแบบเดิม

"ตัวอย่างเช่น,ต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงจีทีแอล.จะตกอยู่ที่ 14.35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงแบบเก่าอื่นๆอยู่ที่ 19.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะเห็นได้ว่าประหยัดได้ถึง 26%" เธอกล่าว และว่า "นี่ยังไม่นับรวมผลดีที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม"

โรงงานผลิตจีทีแอล.แห่งแรกในกาตาร์เป็นการลงทุนร่วมกับบริษัทซาโซลอินเตอร์เนชั่นแนลจำกัดจากอัฟริกาใต้ โรงงานนี้สามารถผลิตแก๊สดังกล่าวได้ 33,000 บาร์เรลต่อวัน จำนวนนี้กอปรด้วยแก๊สจีทีแอล.ดีเซล 24,000 บาร์เรล แก๊สจีทีแอลนาฟตา 8,000 บาร์เรล และแก๊สปีโตรเลียมเหลว 1,000 บาร์เรล

กาตาร์ลงนามทำโครงการผลิตจีทีแอล.ไปแล้วเป็นมูลค่า 20 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ยังมีผู้เสนออีกสี่รายรอการเจรจาอยู่ ที่ผ่านมา,กาตาร์ได้ลงนามในข้อตกลงตั้งโรงงานผลิตจีทีแอล.มูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์กับบริษัทเอ็กซอนโมบิล กาตาร์จีทีแอล.จำกัดไปแล้วเช่นเดียวกัน

"แหล่งแก๊สสำรองขนาดใหญ่ในกาตาร์,อิหร่าน,สหรัฐอาหรับอีมิเรต,รัสเซีย,ซาอุดิอะราเบีย,คานาดาและอลาสก้ายังรอการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการขนส่งแก๊สไปยังตลาดอยู่" โกเมสกล่าว

เธอแถลงว่าแม้กระทั่งถึงเมื่อเร็วๆนี้มีวิธีการสองแบบเท่านั้นที่จะขนส่งแก๊สธรรมชาติได้ นั่นคือการส่งผ่านท่อในรูปของแก๊สธรรมดาและแก๊สเย็น อีกอย่างคือการขนส่งในรูปของแก๊สเหลวแอลเอ็นจี.

เทคโนโลยีจีทีแอล.คือการเปลี่ยนแก๊สธรรมชาติไปเป็นผลิตภัณท์เหลวที่ทำให้การเผาไหม้สะอาด ทำให้ง่ายต่อการขนส่งสู่ตลาด กาตาร์เข้ามามีบทบาทนำในภูมิภาคที่สนับสนุนเทคโนโลยีแบบนี้ และอีกไม่นานจะเป็นผู้นำทางด้านนี้" เธอกล่าวในที่สุด. (จบ/ลิขสิทธิไอพีเอส)

โดย มีนา เอส. จานาร์ธาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net