Skip to main content
sharethis
Event Date
องค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย (Save the Children) และภาคีเครือข่าย
เรียนเชิญสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับชมภาพยนต์สั้นสะท้อนปัญหาชีวิตและการศึกษาของเด็กในค่ายผู้ลี้ภัยประจำประเทศไทย และร่วมรับฟังการเสวนาในหัวข้อ การศึกษาของผู้ลี้ภัย: สิทธิเด็กที่ขาดหายไปจากสังคม ในวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2558 เวลา 14:30 – 17:00 น
ณ สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ประจำประเทศไทย กรุงเทพฯ
 

ความเป็นมา

ผู้ลี้ภัยได้เริ่มอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อหลบหนีความขัดแย้งในประเทศพม่าในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 โดยสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเป็นหนึ่งในสถานการณ์ด้านการลี้ภัยที่ยืดเยื้อยาวนานที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันมีผู้อพยพลี้ภัยราว 110,000 คนอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งบริเวณชายแดนไทย-พม่า โดยในจำนวนของผู้อพยพนี้เด็กเป็นจำนวนมาก

ด้วยจำนวนสถิติของเด็กในค่ายผู้ลี้ภัยที่มีเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการโครงการถ่ายโอนการสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำโดยองค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย (Save the Children) ร่วมกับภาคีเครือข่าย จึงได้เข้าไปสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานในค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง 9 แห่ง ซึ่งปัจจุบัน มีนักเรียนผู้ลี้ภัยจำนวนกว่า 30,000 คนเรียนกับครูผู้ลี้ภัยกว่า 1,500 คนในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน 80 แห่งในค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง 9 แห่งซึ่งมีคณะกรรมการด้านการศึกษาของผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง และแผนกการศึกษาของชาวกะเหรี่ยง เป็นผู้ดำเนินการจัดการระบบการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัย โดยระบบการศึกษาเหล่านี้ตอบสนองความต้องการเรียนภาษาและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนผู้ลี้ภัยซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาของรัฐบาลพม่าและรัฐบาลไทย ส่งผลให้การเรียนรู้ของเด็กผู้ลี้ภัยรวมถึงคุณวุฒิ ทักษะ และประสบการณ์ของครูผู้ลี้ภัยไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศใดเลย โดยมีหลากหลายประเด็นที่ทำให้ระบบการศึกษาของเด็กในค่ายผู้ลี้ภัยมีปัญหา และยิ่งน่ากังวลมากยิ่งขึ้นเมื่อเด็กๆ เหล่านั้นจะต้องถูกผลักดันกลับประเทศต้นทางในเร็ววันนี้   

องค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทยจึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดแถลงข่าวฉายภาพยนต์สั้นสะท้อนปัญหาชีวิตและการศึกษาของเด็กในค่ายผู้ลี้ภัยประจำประเทศไทย และจัดเเสวนาในหัวข้อ การศึกษาของผู้ลี้ภัย: สิทธิเด็กที่ขาดหายไปจากสังคม เพื่อร่วมกับหาสาเหตุของปัญหาและหาทางออกในการแก้ปัญหาการศึกษาที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ผู้ลี้ภัยด้วย

         โดยสื่อมวลชนและประชาชนที่เข้าร่วมงานจะได้พบกับการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่อง ‘การศึกษา: ต่อเติมฝันเด็กผู้ลี้ภัย’ (Recognize Our Education: Realize Our Dreams) ที่ยกเสียงของเด็กและครูผู้ลี้ภัยขึ้นมานำเสนอ โดยเด็กผู้ลี้ภัยได้พูดถึงความไฝ่ฝันของตนในอนาคตและความกลัวที่จะต้องเข้ารับการทดสอบวัดผลตามหลักสูตรที่พวกเขาไม่คุ้นเคยและไม่เคยเรียนมาก่อน ส่วนครูของเด็กๆ เหล่านี้กล่าวถึงความต้องการที่จะสอนหนังสือต่อไปหากพวกเขากลับสู่ประเทศพม่า  และยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาและความปลอดภัยของนักเรียนของตนหากการศึกษาของพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับเมื่อกลับสู่ประเทศบ้านเกิด

        นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานยังจะได้ร่วมรับพังเวทีเสวนาในหัวข้อการศึกษาของผู้ลี้ภัย: สิทธิเด็กที่ขาดหายไปจากสังคม โดยวิทยากรจะร่วมกันวิเคราะห์ถึงปัญหาเรื่องสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาของผู้ลี้ภัยในบริบทของกระบวนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศพม่าในปัจจุบัน โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย

-         ลอ เอ มู: แผนกการศึกษาของชาวกะเหรี่ยง ซอ ลอ เอ มู เกิดที่บริเวณชายแดนไทย- พม่า และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาในค่ายแม่รมาหลวง โดย ลอ เอ มู ได้เริ่มทำงานเรื่องการศึกษาสำหรับผู้ลี้ภัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านจิตวิทยาและการศึกษาท ปัจจุบัน ลอ เอ มู ทำงานเป็นเลขานุการสมาคมการศึกษาประเทศเมียนมาร์ ที่มีพันธกิจในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิทางการศึกษาของเด็กชาวกะเหรี่ยงทุกคน

-         ทิโมที สิโรตา: ช่างภาพและผู้สร้างภาพยนตร์ งานที่เผยแพร่ผ่านสื่อของสิโรตาเน้นประเด็นของประเทศเมียนมาร์เป็นหลักนับตั้งแต่ที่เขาได้เดินทางไปยังประเทศเมียนมาร์ในปี พ.ศ. 2540 สิโรตากำกับภาพยนตร์กว่า 20 เรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาด้านสังคม การเมือง และมนุษยธรรมทั้งในประเทศเมียนมาร์และบริเวณชายแดนไทย-พม่าในประเด็นเรื่องสิทธิของผู้ลี้ภัย ทุ่นระเบิด นักโทษทางการเมือง สุขภาพของมารดา และการลักลอบค้าช้าง สิโรตาได้รับรางวัลและคำยกย่องจากนานาชาติจากการทำภาพข่าวสารคดีและเป็นผู้เขียนเรื่อง 'ยินดีต้อนรับสู่ประเทศพม่า ขอให้ท่านเพลิดเพลินกับประสบการณ์ภายใต้ระบอบเผด็จการ (Welcome to Burma and Enjoy the Totalitarian Experience) ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ออร์คิด เพรส ปีพ.ศ. 2544

-          อัลที เบสเตอร์: ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาศักยภาพจากสมาคมการศึกษาของประเทศพม่า อัลเต เบสเตอร์ทำงานด้านการพัฒนาระหว่างประเทศมากว่า 15 ปีและสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการศึกษานอกระบบจากมหาวิทยาลัยสเตลเลนบอช เบสเตอร์มีประสบการณ์การทำงานในหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการพัฒนาโปรแกรมในประเทศแอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร และประเทศเมียนมาร์ โดยเบสเตอร์ทำงานในประเทศเมียนมาร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ได้พัฒนาโครงการของมูลนิธิศุภนิมิต (World Vision)แห่งประเทศเมียนมาร์ในช่วงปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2554 หลังจากนั้น เบสเตอร์ได้เข้าร่วมกับสมาคมการศึกษาของประเทศเมียนมาร์ (Myanmar Education Consortium: MEC) ในปี พ.ศ. 2556 โดยทำงานด้านการพัฒนาโครงการ และนำองค์ประกอบด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรในด้านการรณรงค์ภาคประชาสังคมมาปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้และสำรองที่นั่งในการเข้ารับชมภาพยนต์สั้นได้ที่:  คุณทรงพร ลีลากิตติโชค (คุณบี๊)เจ้าหน้าที่ประสานงานการสื่อสารและรณรงค์องค์การช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย) โทร  081-818- 8072 ,086-335-1069   อีเมล์: bea.leelakitichok@savethechildren.org

กำหนดการ

14:30 – 15:00น.

ลงทะเบียน

 

15:00 – 15:10น.

ประธานกล่าวเปิดงาน

         แอลลิสัน เซลโควิทซ์

(ผู้อำนวยการองค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย)

 

15:10 – 15:30น.

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบริบทด้านการศึกษาของผู้ลี้ภัยในปัจจุบัน (ข้อมูลเชิงประชากร การจัดทำโครงการ และอุปสรรคต่างๆ)

         จาคอบ เมอร์เรย์   (มูลนิธิไรท์ ทู เพลย์)

         พัชรินทร์ ณะวิชัย (องค์การเยสุอิตสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย)

 

15:30 – 15:40น.

ไกลเกินเข้าถึง: ประสบการณ์ของนักเรียนผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาร์เกี่ยวกับการศึกษาของรัฐเมียนมาร์

         แอนเดรีย คอสตา (องค์การช่วยเหลือเด็ก)

 

15:40 – 15:50น.

แนะนำภาพยนตร์: ทรรศนะของผู้สร้างภาพยนตร์ มุมมองจากผู้ลี้ภัยและเด็กๆ ร่วมแบ่งปัน

         ทิม สิโรตา (ผู้สร้างภาพยนตร์)

 

15:50 – 16:05น.

ฉายภาพยนตร์

“การศึกษา: ต่อเติมฝันเด็กผู้ลี้ภัย” (Recognize Our Education: Realize Our Dreams)

โครงการริเริ่มโดยองค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย

 

16:05 – 16:30น.

เวทีเสวนาเรื่องการย้ายกลับประเทศของผู้ลี้ภัยในบริบทของวาระการปฎิรูปประเทศเมียนมาร์ และสิทธิของเด็กผู้ลี้ภัยที่เป็นชนกลุ่มน้อย

         อัลที เบสเตอร์ (สมาคมการศึกษาประเทศเมียนมาร์)

         ลอ เอ มู (แผนกการศึกษาของชาวกะเหรี่ยง)

         ทิม สิโรตา (ผู้สร้างภาพยนตร์)

ดำเนินรายการ: มธุมนต์  แคเทอร์เรนชัค (องค์การช่วยเหลือเด็ก)

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net